วิธีการโอนรถ
ในการโอนรถต้องนำรถไปดำเนินการที่ขนส่งในแต่ละพื้นที่ ไม่สามารถที่จะโอนกันได้เอง
รถยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูงชนิดหนึ่ง โดยมีราคาได้ตั้งแต่หลักหลายแสนไปจนถึงสิบล้าน การซื้อขายรถยนต์ ระหว่างผู้ใช้รถด้วยกันอาจนำมาซึ่งปัญหาการทุจริตต่างๆ ได้ เช่น ผู้ซื้อจ่ายเงินแล้วแต่ผู้ขายไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ให้เป็นของผู้ซื้อ ซึ่งในจุดนี้กรมการขนส่งทางบกจึงเข้ามามีบทบาทเป็นคนกลางในการซื้อขายรถยนต์เพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ โดยเมื่อมีการซื้อขายรถยนต์จะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์รถจากผู้ขายไปสู่ผู้ซื้อ ซึ่งต้องดำเนินการที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น โดยทั่วไปการโอนกรรมสิทธิ์รถจะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
หลักฐานที่ใช้
- หลักฐานประจำตัวผู้โอนและผู้รับโอน ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แล้วแต่กรณี
- หลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี สัญญาซื้อขาย หรือหลักฐานอื่นๆ ได้แก่ พินัยกรรม คำสั่งศาล แต่งตั้งผู้จัดการมรดก เป็นต้น
- หลักฐานการจัดให้มีประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
- หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถซึ่งลงลายมือชื่อผู้ประกอบการขนส่งและผู้ถือกรรมสิทธิ์แล้ว
- หนังสือมอบอำนาจกรณีไม่ได้มาดำเนินการด้วยตนเอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับมอบ
ขั้นตอนการดำเนินการ
- ยื่นแบบ คำขอโอนและรับโอน (ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก) ซึ่งมีการกรอกข้อความและ ลงนามในคำขอแล้วพร้อมหลักฐาน แล้วนำรถเข้าตรวจสอบที่งานตรวจสภาพรถ)
- ตรวจสอบการบรรจุรถในบัญชี ขส.บ.11 ของผู้รับโอน
- ชำระค่าธรรมเนียม มีค่าใช้จ่ายดังนี้ ค่าคำขอ 5 บาท ค่าธรรมเนียมการโอน 100 บาท ค่าธรรมเนียมการตรวจสภาพรถ 50 บาท ค่าอากรซื้อขายต่อราคาประเมินรถ อยู่ที่แสนละ 500 บาท
- บันทึกรายการทางทะเบียนรถ
- รับหนังสือแสดงการจดทะเบียนรถคืน
ระยะเวลาดำเนินการ
ไม่เกิน 2 ชั่วโมง 20 นาที
หมายเหตุ
ผู้โอนและผู้รับโอนต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันโอนรถ หากไม่ดำเนินการจะต้องเปรียบเทียบปรับตามอัตราที่กฎหมายกำหนด 2000 บาท
การโอนลอย
ในความเป็นจริงเจ้าของรถหรือผู้ซื้อรถอาจจะไม่สะดวกมาดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ หรือไม่สามารถนัดเวลาว่างให้ตรงกันได้ จึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการโอนลอยขึ้นมาเป็นการโอนที่ผู้ซื้อเป็นผู้ไปดำเนินขั้นตอนการโอนเอง ผู้ขายจะมอบเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งเซ็นต์ชื่อในเอกสารที่ใช้ในการโอนให้ (ผู้ขายรับเงินจากผู้ซื้อแล้ว) โดยเอกสารที่ใช้ในการโอนลอยจะเป็นเอกสารทางฝั่งของผู้ขาย คือ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของรถ ใบมอบอำนาจจากกรมขนส่งโดยเจ้าของรถจะต้องเซ็นต์ชื่อในเอกสารนั้น เอกสารการโอนรถของกรมขนส่งที่เจ้าของรถเซ็นต์ชื่อในช่องผู้โอน และสุดท้ายคือทะเบียนรถคันที่จะทำการโอน
สำหรับการโอนลอยมีข้อควรระวังคือ การที่ผู้ซื้อยังไม่ไปทำเรื่องโอนให้เสร็จแล้วนำรถไปขับขี่จนเกิดอุบัติเหตุ ถ้ามีการสืบจนพบว่าเป็นฝ่ายผิด กฎหมายจะดำเนินการกับผู้มีชื่อเป็นเจ้าของรถซึ่งก็คือผู้ขายที่ไม่ได้ไปทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ หรือในกรณีผู้ซื้อที่รับเรื่องว่าจะไปโอนกรรมสิทธิ์แต่ยังไม่ไปดำเนินการจนเอกสารหมดอายุก็จะต้องมาดำเนินการโอนใหม่อีก ทางเลือกสำหรับการโอนลอยคือควรเป็นบุคคลที่รู้จักกันหรือตรวจสอบภูมิลำเนา สถานที่ทำงานได้ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรไปดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์รถให้เสร็จด้วยตนเองจะเป็นการดีกว่า
โอนลอย คือ คือผู้ขายรถจัดทำเอกสารการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองรถให้เรียบร้อย ขาดแต่เพียงเซ็นต์รับเป็นผู้ครอบครองรถต่อ ทำเพื่อขายรถให้เต๊นท์หรือบุคคล ผู้ครอบครองตามทะเบียนรถต้องการลงลายเซ็นต์ช่องผู้โอน และลายเซ็นต์ที่เอกสารมอบอำนาจไว้
เอกสารสำหรับการโอนลอย
โอนลอยอย่างไรให้ไม่มีปัญหา เช็ก 4 อย่างคือ
>>> หากสนใจต่อพรบ.ภาษีรถให้เรียบร้อยก่อนการโอน ทักไลน์มา คลิก @postantz วันเดียวส่งใบภาษีให้ได้เลย