เรื่องของพ.ร.บ.

  เรื่องที่ต้องรู้ของ พ.ร.บ.รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ และรายละเอียดความคุ้มครองของ พ.ร.บ.ที่มีมากมายเกินเงินที่ต้องจ่ายแต่คุ้มค่าที่ต้องทำ

พ.ร.บ.คืออะไร ทำไปทำไมคุ้มครองอย่างไร

 พ.ร.บ.คืออะไร ซึ่งความจริงแล้วพรบคือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฎหมายบังคับใช้ให้รถทุกคันจำเป็นต้องทำประกันพรบคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พศ 2535 โดยกฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะทางบกทุกประเภทที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกจำเป็นต้องทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุ โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย และค่าดูแลรักษาพยาบาลตามที่กำหนด รถทุกชนิดทุกประเภทที่เดินกำลังขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ไฟฟ้า หรือพลังงานอื่นๆเช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถโดยสาร รถพ่วง รถสิบล้อ จำเป็นต้องทำ พรบ. ส่วนรถที่ได้รับการยกเว้นการทำพรบคือรถเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ พระราชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทน รถของสำนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามพระราชวังกำหนด รถของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ และรถทหาร และรถของหน่วยงานธุรการขององค์กรที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ   

ต้องทำพรบ เพราะ พ.ร.บ. คือการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

1.    เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายกำหนด
2.    กฎหมายได้กำหนดให้มีส่วนร่วมในการสร้างหลักประกันต่อสังคม  
3.    เป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ที่ขับขี่หรือเจ้าของรถหากต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ  
4.     เป็นมาตรการการลดปัญหาทางสังคมด้านหนึ่งซึ่งไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิด  
5.    เป็นมาตรการบรรเทาผลร้ายต่อผู้เสียหายหากเกิดการรับผิดชอบ  
6.    เป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการักษาทรัพยากรมนุษย์

 

ตารางความคุ้มครอง ประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง
( บาท / คน )
1 จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) 30,000
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000
2 ค่าเสียหายส่วนที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น สำหรับผู้ประสบภัย 
(จะได้รับภายหลังจากการพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้เป็นฝ่ายละเมิด)
2.1  ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000

2.2  การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง                                                     

2.2.1 หากทุพพลภาพอย่างถาวร**ทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิงจะมีความรุนแรงจนไม่สามารถทำงานใดๆได้อีก ซึ่งมีความรุนแรงกว่าทุพพลภาพอย่างถาวร ซึ่งในกรณีทั้งสองต้องให้แพทย์และผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด

500,000

300,000

2.3  สูญเสียอวัยวะ  
        - นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000
       - สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000
       - สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 500,000

2.4   ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล 
       ในสถานพยาบาลในฐานะคนไข้ใน

สูงสุดไม่เกิน 4,000

หมายเหตุ :

- ผู้ขับขี่ที่กระทำละเมิด (ฝ่ายผิด) จะได้รับแค่ ความคุ้มครอง ค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น 
- ผู้ประสบภัย หมายรวมถึง ผู้ขับขี่ที่ถูกละเมิด ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก
- จำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย (ดูในกรมธรรม์)

>>รายละเอียดด้านล่างจะอธิบายความคุ้มครองเพิ่มเติมของ พ.ร.บ.ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563

 หากสนใจทำ พ.ร.บ.หรือต่อภาษีรถ ทักไลน์ @postantz หรือ คลิก!

Visitors: 876,978